MESA RU-หน่วยปฏิบัติการวิจัยสัณฐานวิทยาของพื้นผิวโลกและธรณีพิบัติภัยขั้นสูงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
1. ความเป็นมาของหน่วยวิจัยฯ
การเปลี่ยนแปลงบนพื้นผิวและภายในโลกเป็นกระบวนการทางธรรมชาติที่สำคัญที่อยู่คู่กับโลกของเรามาตั้งแต่กำเนิดโลกที่แสดงถึงว่าโลกมีการปรับตัวตลอดเวลาทั้งภายในและบนพื้นผิว การปรับตัวมีหลายรูปแบบและอาจใช้เวลาในการเปลี่ยนแปลงแตกต่างกัน กระบวนการบางอย่างใช้เวลายาวนานกว่าจะเห็นผล แต่ในปัจจุบันด้วยเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ที่พัฒนาขึ้นอย่างมากมาย เทคโนโลยีที่ทันสมัย ทำให้เราได้ทราบและเห็นผลการเปลี่ยนแปลงนั้นได้อย่างรวดเร็ว ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ การเกิดพิบัติภัยในช่วงสิบปีที่ผ่านมาทำให้ได้ทราบถึงตำแหน่งและความรุนแรงของพิบัติภัยแต่ละประเภทอย่างรวดเร็ว อาทิ แผ่นดินไหว ที่มีโอกาสเกิดอย่างรุนแรงในปัจจุบันในประเทศไทยและประเทศในแถบอาเซียน
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 ที่เกิดคลื่นสึนามิถล่มชายฝั่งอันดามันและชายฝั่งเพื่อนบ้านในอาเซียน ทำให้เกิดแรงกระตุ้นให้นักวิจัยไทยได้หาคำตอบทางธรณีวิทยาของแผ่นดินไหวที่ก่อให้เกิดคลื่นสึนามิอย่างมากมายและเชิงลึกมากขึ้น หลังจากนั้นเพียงหนึ่งปี พายุนากิส ก็เข้าถล่มชายฝั่งอันดามันของไทยและเมียนม่าร์ ซึ่งก็ทำให้เห็นว่า ประเทศไทยและเพื่อนบ้านอาเซียน ยังขาดนักวิจัยเป็นอย่างมาก บทความวิจัยหลายๆ บทความที่เผยแพร่ออกไปก็กระทำโดยนักวิจัยแถบยุโรปและสหรัฐอเมริกาเป็นส่วนใหญ่ ในประเทศไทยมีเพียงแค่กลุ่มวิจัยธรณีวิทยาจากคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่มีผลงานการค้นคว้าที่โดดเด่น มีการเผยแพร่ในวารสารชั้นนำของโลกในสาขาธรณีวิทยา แต่หากมองไปยังเพื่อนบ้านอาเซียน ก็พบว่านักวิจัยของประเทศเหล่านั้นยังมีน้อยมาก
ทีมนักวิจัยที่เสนอขอจัดตั้งหน่วยวิจัยฯนี้เกิดจากการรวมตัวของบุคลากรของภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาธรณีสัณฐานวิทยา ตะกอนวิทยา และธรณีวิทยาแผ่นดินไหว ซึ่งเป็นสาขาที่มีความเกี่ยวข้องกันในมิติของการศึกษาวิจัยพิบัติภัยทางธรณีวิทยาในปัจจุบัน โดยได้เล็งเห็นว่า ควรมีการจัดตั้งหน่วยวิจัยฯ ที่ประกอบไปด้วยอาจารย์อาวุโส รุ่นกลางและรุ่นใหม่ผสมผสานกัน มีความเชี่ยวชาญใกล้เคียงกันมาทำวิจัยเชิงลึกเฉพาะด้านด้วยกัน เพื่อให้เกิดการบูรณาการศาสตร์ธรณีวิทยาที่เกี่ยวข้องกัน ซึ่งนักวิจัยในกลุ่มจะได้ทำวิจัยร่วมกัน แลกเปลี่ยนแนวคิด วิธีการ และการวิเคราะห์ข้อมูลร่วมกันในประเด็นพิบัติภัยที่เกิดบนพื้นผิวโลก โดยเน้นที่การศึกษาวิจัยธรณีสัณฐานวิทยาบนพื้นผิวโลก การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในอดีตและปัจจุบัน พิบัติภัยบนพื้นผิวโลกและชายฝั่ง (คลื่นสึนามิและคลื่นพายุซัดล้นฝั่ง) และพิบัติภัยแผ่นดินไหว ซึ่งมีเป้าหมายว่าจะสามารถเชื่อมโยงกับนักวิจัยทางธรณีวิทยาในประเทศเพื่อนบ้านอาเซียน (ASEAN Geological Research Network) ได้ในอนาคต
2. พันธกิจของหน่วยฯ
สร้างความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยในประเทศไทย และต่างประเทศ เพื่อสร้างผลงานวิจัยทางด้านสัณฐานวิทยาของพื้นผิวโลก และธรณีพิบัติภัยขั้นสูงโดยมุ่งเน้นสำรวจและศึกษาพฤติกรรมการเกิดแผ่นดินไหว ตามแนวมุดตัวของแผ่นเปลือกโลกที่สำคัญที่อาจส่งผลกระทบด้านพิบัติภัยสึนามิต่อชายฝั่งทะเลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พัฒนาองค์ความรู้ และผลิตบุคลากรนักวิจัย เผยแพร่ความรู้ให้กับรัฐ ประชาชน เพื่อให้เกิดการวางแผนป้องกันพิบัติภัยธรรมชาติโดยเฉพาะพิบัติภัยแผ่นดินไหวและสึนามิที่มีโอกาสสูงที่จะเกิดขึ้นในภูมิภาคในอนาคต ซึ่งหากไม่มีข้อมูลพฤติกรรมการเกิดแผ่นดินไหว และไม่มีการวางแผนรับมือที่สอดคล้องกัน อาจทำให้ในอนาคตภูมิภาคอาเซียนอาจได้รับความเสียหายจากพิบัติภัยดังกล่าวและเป็นสิ่งกีดขวางการพัฒนาประชาคมให้เจริญก้าวหน้าตามแผนหรือลำดับเวลาที่ได้วางไว้
3. วัตถุประสงค์ของหน่วยฯ
3.1 กลุ่มวิจัยด้านธรณีสัณฐานวิทยาและธรณีพิบัติภัยขั้นสูง |
|
(1)
|
เพื่อดำเนินการวิจัยเชิงลึก (in-depth research) ในเรื่องการเปลี่ยนแปลงสัณฐานวิทยาของพื้นผิวโลกโดยครอบคลุมวิวัฒนาการของภูมิประเทศและธรณีสัณฐานที่มีการเปลี่ยนแปลงในสมัยใหม่ (change of landforms and their evolution in the Anthropocene) ที่ส่งผลกระทบต่อสังคมปัจจุบัน รวมถึงเชื่อมโยงไปสู่การวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำทะเลและสภาพภูมิอากาศในอดีต |
(2)
|
เพื่อวิเคราะห์เชิงลึกของข้อมูลธรณีพิบัติภัยชายฝั่งที่รุนแรง (coastal extreme geohazards) ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต อันได้แก่ คลื่นสึนามิ (tsunami) คลื่นพายุซัดล้นฝั่ง (storm surge) และการเสียสมดุลชายฝั่ง (loss in coastal equilibrium) |
(3)
|
เพื่อวิจัยธรณีพิบัติภัยที่เกิดขึ้นในแผ่นดิน (Inland geohazards) ทั้งที่เกี่ยวข้องกับคลื่นไหวสะเทือน (seismic wave) และธรณีวิทยาโครงสร้าง อันได้แก่ แผ่นดินไหว (earthquake) และพิบัติภัยที่มีสาเหตุจากน้ำ ได้แก่ แผ่นดินถล่ม (landslide) น้ำท่วม (flooding) โดยอาศัยข้อมูลธรณีสัณฐานวิทยาเป็นหลักในการวิเคราะห์ |
3.2 กลุ่มวิจัยด้านธรณีวิทยาเชิงลึก |
|
(1) |
สำรวจ วิเคราะห์ สังเคราะห์ และนำเสนอการค้นพบข้อมูลธรณีวิทยาใหม่ทั้งระดับพื้นที่รายละเอียดและระดับภูมิภาค |
(2) |
สำรวจ วิเคราะห์ธรณีวิทยาเชิงลึกเพื่อปรับปรุงพัฒนาแบบจำลองธรณีแปรสัณฐานในระดับท้องถิ่นและภูมิภาค |
4. เป้าหมายของหน่วยฯ
4.1 |
เพื่อเป็นผู้นำทางวิชาการธรณีวิทยาของประเทศและภูมิภาคอาเซียน (To become the leader of geological research in Thailand and ASEAN region) |
4.2 |
นำเสนอข้อมูลธรณีวิทยาและธรณีพิบัติภัยที่เหมาะสมและทันต่อสถานการณ์ให้แก่สังคม (To contribute geological and geohazard data to society in appropriate time and situation) |
– จัดทำข้อมูลประชาสัมพันธ์เชิงรุกโดยนำเสนอใน Social media; website – ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ ทีวี และสื่อสาธารณะที่น่าเชื่อถืออย่างเหมาะสม – ผลิตตำรา หนังสือ คู่มือ วีดีทัศน์วารสารวิชาการ หรือสื่อสิ่งพิมพ์รูปแบบต่างๆ – จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ ภาคสนามและห้องปฏิบัติการเฉพาะทาง (Knowledge transfer to specific area of geohazard researches) เพื่อสร้างความแข็งแกร่งทางวิชาการให้กับนักวิจัยไทยและชาติในแถบอาเซียนเพื่อนำไปสู่การสร้างเครือข่ายวิจัย |
|
4.3 | เป็นศูนย์กลางการวิจัยเชิงลึก (research center) และสร้างเครือข่ายวิจัย (research network) ด้านงานวิจัยธรณีพิบัติภัยสำหรับนักวิจัยของกลุ่มประเทศในอาเซียน |
5. โครงสร้างและระบบบริหารของหน่วยฯ
หัวหน้าหน่วยวิจัย
ศาสตราจารย์ ดร. มนตรี ชูวงษ์
ที่ปรึกษา
1. ศาสตราจารย์ ดร. ปัญญา จารุศิริ
2. รองศาสตราจารย์ ดร. จักรพันธ์ สุทธิรัตน์
นักวิจัย
1. รองศาสตราจารย์ ดร. สันติ ภัยหลบลี้
2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วิชัย จูฑะโกสิทธิ์กานนท์
3. อาจารย์ ดร. อัคนีวุธ ชะบางบอน
4. อาจารย์ ดร. สุเมธ พันธุวงค์ราช
5. อาจารย์ ดร. สกลวรรณ ชาวไชย
นักวิจัย และผู้ประสานงานการวิจัย
นางธีรารัตน์ ภัยหลบลี้
เจ้าหน้าที่ประจำหน่วยฯ
นายสุรเชษฐ วชิรโภคเจริญ
สถานที่ติดต่อ | |
ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ |
|
โทรศัพท์ 0-2218-5444 โทรสาร 0-2218-5464 | |
E-mail: monkeng@hotmail.com |