หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาธรณีวิทยา
ชื่อหลักสูตร
- หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาธรณีวิทยา
- Bachelor of Science Program in Geology
ชื่อปริญญา
- วิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)
- Bachelor of Science (B.Sc.)
เอกสารรายละเอียดหลักสูตร
- หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2566
- หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2561 (สำหรับนิสิต รหัสขึ้นต้นด้วย 61)
ปรัชญาของหลักสูตร
รอบรู้ในศาสตร์ธรณีวิทยา มีศักยภาพในการค้นคว้า ติดตามความเจริญก้าวหน้าทางวิชาการระดับสากล ใฝ่รู้และแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีทักษะในการสื่อสาร การจัดการ สามารถเป็นทั้งผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นกลุ่ม มีคุณธรรม จริยธรรม และความรับผิดชอบต่อสังคม
คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์
- มีความรอบรู้ด้านวิทยาศาสตร์พื้นฐานและคณิตศาสตร์ สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ รอบรู้ในศาสตร์ธรณีวิทยาและศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับธรณีวิทยา และมีศักยภาพในการค้นคว้า ติดตามความเจริญก้าวหน้าทางวิชาการระดับสากล
- เป็นผู้ใฝ่รู้และแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีทักษะในการสื่อสารการจัดการ สามารถเป็นทั้งผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นกลุ่ม มีคุณธรรม จริยธรรม และความรับผิดชอบต่อสังคม
- มีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ด้านวิชาการ สามารถดำเนินการขั้นต้นในการสำรวจธรณีวิทยา ธรณีวิทยาแหล่งแร่ ธรณีวิทยาแหล่งพลังงาน ธรณีวิทยาแหล่งน้ำ ธรณีวิทยาฐานราก ธรณีสัณฐานวิทยา และในการประยุกต์ความรู้ธรณีวิทยา
ระบบการศึกษา
ใช้ระบบการศึกษาแบบทวิภาค โดยในแต่ละปีการศึกษา (academic year) แบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษา (semester) คือภาคการศึกษาต้นและภาคการศึกษาปลาย และอาจมีภาคฤดูร้อน (summer session) ต่อจากภาคการศึกษาปลายอีก 1 ภาคได้ โดยในแต่ละภาคการศึกษาต้องมีระยะเวลาการศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์ และในกรณีภาคฤดูร้อนมีระยะเวลาการศึกษาประมาณ 6 สัปดาห์ ทั้งนี้ต้องมีชั่วโมงเรียนของแต่ละรายวิชาเท่ากับชั่วโมงเรียนในภาคการศึกษา
ระยะเวลาการศึกษา
หลักสูตร 4 ปี ระยะเวลาการศึกษาไม่ต่ำกว่า 7 ภาคการศึกษาและไม่เกิน 16 ภาคการศึกษา
การลงทะเบียนเรียน
ในภาคการศึกษา นิสิตต้องลงทะเบียนเรียนไม่ต่ำกว่า 9 หน่วยกิต และไม่เกิน 22 หน่วยกิต ส่วนในภาคฤดูร้อนไม่เกิน 7 หน่วยกิต
การสนับสนุนและการให้คำแนะนำนักศึกษา
ภาควิชามีนโยบายให้อาจารย์ในภาควิชา สร้างความคุ้นเคยกับนิสิตให้มากที่สุด เพื่อให้นิสิตรู้สึกว่า คณาจารย์ในภาควิชาเป็นผู้ช่วยเหลือและให้ความสนับสนุนในด้านการศึกษาวิจัย ทั้งนี้เพื่อให้นิสิต กล้า หรือไว้วางใจอาจารย์เมื่อเกิดปัญหาและต้องการคำปรึกษา โดยไม่เฉพาะในเรื่องการศึกษาเท่านั้น แต่รวมทั้งปัญหาด้านความเป็นอยู่หรือการดำรงชีวิตของนิสิตเอง เป็นต้น