อาจารย์ธรณีจุฬาฯ สำรวจทวีปแอนตาร์ติกา

อาจารย์จากภาควิชาธรณีวิทยา จุฬาฯ เดินทางสำรวจทวีปแอนตาร์กติกา ร่วมกับโครงการ CHINARE 33 สาธารณรัฐประชาชนจีน ภายใต้โครงการวิจัยขั้วโลกตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ระหว่างวันที่ 8 มกราคม 2560 ถึง 3 กุมภาพันธ์ 2560 ณ สถานีวิจัย Great Wall สาธารณรัฐประชาชนจีน ทวีปแอนตาร์กติก

นักวิจัยประกอบด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.พิษณุพงศ์ กาญจนพยนต์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฐาสิณีย์ เจริญฐิติรัตน์ อาจารย์ประจำภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะทำการวิจัยในหัวข้อ ธรณีวิทยาบริเวณสถานีเกรทวอล ทวีปแอนตาร์กติกและวิวัฒนาการธรณีแปรสัณฐาน (Geological Study around Great Wall Station, Antarctica and Its Tectonic Evolution) ระหว่างวันที่ 8 มกราคม ถึง 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

สำหรับทวีปแอนตาร์กติกที่ถูกปกคลุมด้วยนํ้าแข็งนั้น เป็นดินแดนที่น่าสนใจสำหรับการศึกษาธรณีวิทยา ธรณีประวัติและธรณีแปรสัณฐาน เนื่องจากทวีปนี้มีประวัติและกระบวนการทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นมายาวนานต่อเนื่อง หินที่โผล่บนทวีปและหินรองรับอยู่ใต้แผ่นนํ้าแข็งขนาดใหญ่เป็นหลักฐานสำคัญที่บันทึกเหตุการณ์ต่างๆทางธรณีวิทยาเอาไว้ นักธรณีวิทยาจึงมีความสนใจที่จะวิจัยบริเวณนี้ โดยมีวัตุประสงค์ 1) เพื่อหาประวัติของโลกบริเวณนี้ และ 2) สร้างเครือข่ายวิจัยและสร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ในการศึกษาธรณีวิทยาขั้วโลกต่อไปในอนาคต


ABSTRACT

Present day the continent of Antarctica is part of the greater Antarctic plate which comprises a complex collage of continental crust, continental shelf and oceanic crust. The continental crust around the Chinese Great Wall Station, King George Island is the result of a long-term tectonic processes and its geological study has been created difficulties by the fact that most of the continent is continuously covered with thick layer of ice. However, many attempts and new techniques have been achieved to reveal the geology, paleo-environment, mineral resources and tectonic evolution beneath the ice. Antarctica is the beauty and untouched desolate wonders that touches the soul of Thai geologists and geological teachers. We are eager to discover and work with Chinese specialists in order to improve in our understanding of geological processes occurred in Antarctica. This project is prior to H.R.H. Princess Polar Research Project and supported by NSTDA.

The Chinese Great Wall Station, King George Island, where was established since 1985, is a target location to have a geological research for understanding the Antarctica history. We will mainly collect and record the geological data from the outcrops. Our aims are 1) to understand the general geology of the King George Island in the vicinity of the Chinese Great Wall Station, Antarctica, 2) to observe the geological processes and collect data from the outcrops and geological cores (if any) in the study area in order to research on stratigraphy, structure geology, mineralogy and geotectonic evolution and 3) to develop the future researches with Chinese specialists in order to better understand the Antarctica and its plate tectonics caused Antarctica’s position to change over geological time.