International Geological Excursion 2016

เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ถึงวันที่ 4 มีนาคม 2559 ที่ผ่านมา นิสิตชั้นปีที่ 2 และ 3 เดินทางไปศึกษาธรณีวิทยาภาคสนาม ณ ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นกิจกรรมหนึ่งในโครงการความร่วมมือระหว่างภาควิชาธรณีวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับมหาวิทยาลัยสึคุบะ โดยมีจุดประสงค์เพื่อเรียนรู้ลักษณะธรณีวิทยาของประเทศญี่ปุ่น วัฒนธรรม และเสริมสร้างมิตรภาพระหว่างนิสิตธรณีวิทยาของทั้งสองสถาบัน
/ by /   ข่าว, รายวิชา / 0 comments

1st Junior Jewelry Exhibition

ขอเชิญนิสิต อาจารย์ และผู้ที่สนใจเข้าร่วมงานจัดแสดงผลงานออกแบบเครื่องประดับ ของนิสิตชั้นปีที่ 3 ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในวันพุธที่ 20 เมษายน 2559 เวลา 17.00 น. ณ ห้อง 333 ภาควิชาธรณีวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

บันทึกการแข่งขันทำแผนที่ธรณีวิทยา ประเทศอินโดนีเซีย

ในช่วงวันที่ 23-29 มีนาคม 2558 ที่ผ่านมา พวกเราทั้งสามคน (นายวัชรพล สียางนอก นายชิตชน ชิตพยัคฆ์ และ นางสาวอิสราภรณ์ เศรษฐ์ธนันท์ นิสิตชั้นปีที่ 3) ได้ไปเข้าร่วมการแข่งขันทำแผนที่ธรณีวิทยาที่เมือง Yogyakarta ประเทศอินโดนีเชีย (International Geomapping Competition 2015) จัดขึ้นโดย Universitas Gadjah Mada การแข่งขันครั้งนี้ มีผู้แข่งขันเข้าร่วมทั้งหมด 15 ทีม (อินโดนีเชีย 12 ทีม มาเลเชีย 2 ทีม และประเทศไทย 1 ทีม) ลักษณะการแข่งขันเป็นการเดินภาคสนามเป็นเวลา 3 วัน จัดทำโปสเตอร์และนำเสนอผลงาน

นิสิตธรณี จุฬาฯ ชนะเลิศการแข่งขันทำแผนที่ธรณีวิทยาที่ประเทศอินโดนีเซีย

วันที่ 23-29 มีนาคม 2558 นิสิตชั้นปีที่ 3 ประกอบด้วย นายวัชรพล สียางนอก นายชิตชน ชิตพยัคฆ์ และ นางสาวอิสราภรณ์ เศรษฐ์ธนันท์  ได้ไปเข้าร่วมการแข่งขันทำแผนที่ธรณีวิทยาที่เมือง Yogyakarta ประเทศอินโดนีเชีย (International Geomapping Competition 2015) และได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับหนึ่งพร้อมกับเงินรางวัล 10,000,000 รูเปีย
/ by /   ข่าว / 0 comments

นิสิตธรณีฯ รับรางวัล “จุลมงกุฏ : เกียรติภูมิวิทยา”

วันที่ 24 มีนาคม 2558 คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยา จัดพิธีมอบรางวัล “จุลมงกุฏ : เกียรติภูมิวิทยา” ประจำปี 2557 ให้กับ นายวฤธ สิริวิภาส นิสิตชั้นปีที่ 2 ภาควิชาธรณีวิทยา ในฐานะนิสิตผู้ทำชื่อเสียงแก่คณะวิทยาศาสตร์ ประจำปี 2557

กิจกรรมเรียนรู้โลกกว้างกับธรณีวิทยา จุฬาฯ

วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2558 ภาควิชาธรณีวิทยา จัดกิจกรรม “เรียนรู้โลกกว้างกับธรณีวิทยา จุฬาฯ” ภายใต้โครงการมหาวิทยาลัยเด็ก ประเทศไทย โดยคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

นักวิจัยพบหลักฐานความแปรปรวนของลมมรสุมเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ในอดีต

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความแปรปรวนของสภาพอากาศในปัจจุบันส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมในหลายประเทศทั่วโลก นักวิชาการกำลังให้ความสนใจอย่างมากเกี่ยวกับการศึกษาสภาพภูมิอากาศ ทั้งในปัจจุบันและในอดีต เพื่อใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นในการคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต
1 4 5 6 7 8 9 10